ตามติด ชีวิตหลังโควิด@ขอนแก่น
“ชีวิตจริง” ไม่ใช่เพียง ฉากเดียวของ “งานอีเว้นท์” ตัดริบบิ้น กดปุ่ม แล้วจบ แต่ชีวิตจริง คือ การใช้ชีวิต ตามปกติ ตามวิถีของแต่ละคน
แต่เมื่อ ชีวิตไม่ปกติ ย่อมต้องใช้ชีวิตยากขึ้น การระบาดของ โควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตเดิมๆของคนทั่วโลก ต้องเปลี่ยนไป หลายคนตกงาน กลับบ้านเกิด และโรงงาน ออฟฟิต ต้องปิดตัว ปิดบริษัท คราวนี้จึงต้องกลับมใช้ชีวิต ที่บ้านเกิดอย่างถาวร หลังจากไปแสวงหาโอกาสในเมืองหลวง-ต่างเมือง มานาน จะกลับบ้าน เมื่อมาฉลองสงกรานต์ ฉลองปีใหม่ แล้วกลับเข้าโหมดเดิม
โครงการ สร้างอาชีพ สร้างชีวิต สร้างชาติ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยแนวคิด บ้านๆ ว่า ใครบ้านอยู่ตรงไหน ก็ทำงานตรงนั้น หาของดี สำรวจ ในบ้าน ในชุมชน ตัวเองว่ามีอะไรอยู่บ้าง แล้วอาจค้นพบตัวเอง พบอาชีพ ที่ทำมาหากินได้
อาจยาก อาจไม่เคยชิน ไม่คุ้นเคย แต่ไม่ถึงขั้นไม่ชอบหรือรับไม่ได้ ชีวิตต้องปรับตัว ตามโลกที่เปลี่ยนไป
คนทั้ง 1,325 คน ที่เข้าร่วมโครงการ สร้างอาชีพ สร้างชีวิต สร้างชาติ กระจายตัวไปตามจุดต่างๆ ตามถิ่นเดิมของตัวเอง เป็นการจ้างงาน 9,000 บาท /เดือน ตามติดชีวิตของพวกเขา สักกลุ่มกันไหม ….
กลุ่มนี้ จำนวน 36 คน ดูแล โดย แพทย์หญิงทานทิพย์ ธำรงวรางกูร ผู้อำนวยการ ศูนย์ค้ำคูณ อำเภออุบลรัตน์ พวกเขาปักหมุด อยู่ใน 3 อำเภอ คือ อุบลรัตน์ แวงใหญ่ และอำเภอพล
การทำงานของพวกเขา ถูกวางโครงสร้าง ไว้ว่า ช่วงเช้า ให้ไปหาความรู้ ด้วยกันที่บ้านของปราญช์ชาวบ้าน ที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ บ่าย แยกย้ายกันไป เพื่อทำงาน ตามที่วางแผนของแต่ละ คน เช่น ปลูกผัก เลี้ยงไก่ และอื่นๆ
พื้นที่ อำเภอแวงใหญ่ ไปรวมพล กันที่ ศูนย์เรียนรู้ “พ่อบุญเต็ม ชัยลา “
พื้นที่ อำเภอพล ไปรวมพล กันที่ ศูนย์เรียนรู้ “พ่อผ่อง เกดพิบูลย์”
พื้นที่อำเภออุบลรัตน์ กระจายกันไปตามบ้านของ ปราญช์ชาวบ้าน หลายคน ในตำบลบ้านดง ทุ่งโป่ง โคกสูง ศรีสุขสำราญ และ นาคำ
รวมพลกัน เพื่อ เรียนหนังสือ เรียนกันทางไกล ตามหัวข้อต่างๆ ทางออนไลน์ เล่าสู่กันฟัง สนุกสนาน จากนั้น แยกย้ายกลับบ้าน ไปทำงาน ตามแผนงาน
พวกเขา เริ่มทำงานกับโครงการสร้างอาชีพ สร้างชีวิต สร้างชาติ เมื่อ วันที่ 01 มิถุนายน ที่ผ่านมา ช่วงเวลาสั้นๆ เพียง ราว 10 วันที่ผ่านมา เพิ่งจะเริ่มต้น ให้หลายคน ปรับตัว ปลูกผัก พอจะได้ผัก แบ่งกิน แบ่งขาย ให้ห้องครัวของโรงพยาบาลอุบลรัตน์ เพื่อทำอาหารให้คนไข้ มีทั้งผักสด และไข่ไก่ ไข่เป็ด
“เกษตรกรจำเป็น” กับชีวิตหลังโควิด-19 จึงยังมีเรื่องเล่า เกาะติดชีวิตของพวกเขา นำมาเล่าให้ฟังกันอีก ในโอกาสต่อไป…..
รวมตัวกัน เหมือนเพื่อนเจอกัน มาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ด้วยกัน ในห้องเรียน แบบสบายๆ
ห้องเรียนใต้ต้นไม้
ปราญช์ชาวบ้าน คือ คนต้นแบบ ที่มีชีวิตจริง สัมผัสได้