ระยะห่าง @ขอนแก่น
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูน และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
โควิด-19 จางตัวลงบ้างแล้ว แต่คนไทยและชาวโลก ยังต้องระมัดระวังตัว “การ์ดไม่ตก” ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาโรคนี้ อย่าประมาท เชียวแหละ ไม่งั้น..อาจมารอบสอง ….
คนไทยเก่งเรื่อง การปรับตัว ดูอย่างหน้ากากอนามัย ซิ เดี๋ยวนี้ กลายเป็นแฟชั่น สีสันสวยงาม เท่ห์ เก๋ มีการสร้างแบรนด์ ติดยี่ห้อ แจกลูกค้า กันทั่วไป ทั้งประเทศ
ส่วนด้านนวัตกรรม การป้องกัน ก็เก่งไม่น้อยหน้าใคร มีการประดิษฐ์จัดทำห้องคัดกรองและห้องตรวจเชื้อผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยกลุ่มวิศวกรคนไทย ค่าย เอสซีจี เป็นห้องแยกส่วน นอกสถานที่ แบบมาตรฐาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ กรณีการตรวจหาเชื้อ นอกจากต้องรักษาระยะห่างแล้ว ยังต้องมีการใช้แสงยูวี ที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ ในการฆ่าเชื้อและทำลายเชื้อโรคต่างๆ
ห้องตรวจหาเชื้อ-Modular Swab Unit แบ่งฟังก์ชั่นการทำงาน ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ กับ คนไข้ อย่างชัดเจน เพื่อความสบายใจ
งานนี้ เป็น โครงการตามพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์ และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้ง “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด-19 (และโรคระบาดต่างๆ)” เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 โดยได้พระราชทานห้องตรวจคัดกรอง นี้ ให้กับ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา
ชาวขอนแก่น ซาบซึ้ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ ….
นายอภิชาติ จงสกุล รองเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา ส่งมอบห้องคัดกรองและห้องตรวจเชื้อผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 โดยมี ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น รศ. นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมผู้บริหาร เป็นผู้รับมอบ
การทำงาน แบบลดความเสี่ยงของห้องคัดกรอง