โอทอป..อดีต..ปัจจุบัน..อนาคต @ ขอนแก่น (ตอนที่ 4-5)
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูน และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
"การมีส่วนร่วม" มาก่อน "เงินตรา"
"ขอนแก่นโมเดล" Only
ตามหลักการบริหาร มีสูตร ที่รู้ ๆ กัน เช่น มีเงินทุน มีบุคคลากร มีวัตถุดิบ หรือ ตำราบริหารธุรกิจ ด้านการผลิต ที่สอนกันมาแล้ว คือ 3 M-Man Money Material หรือ แถม อีกตัว คือ M-Marketing โดยแยกซอยย่อย ออกมาอีก ว่า ด้านการตลาดนั้น ต้องประกอบด้วย 4P-Product-Price-Place-Promotion
มาในยุค นี้ มีคำ งอกออกมาอีกคือ Sustainability หรือ ความยั่งยืน หมายถึง การคงอยู่ของสินค้า ยาวนาน ไม่ปุ๊บปั๊บ “รวยฟ้าผ่า” หรือ “จนทันตาเห็น”
ใครๆ ก็อยากอยู่นานๆ อยู่ค้ำฟ้า อย่างคำอวยพร ขออายุมั่นขวัญยืน อยู่แบบแข็งแรง เป็นร่มโพธิ ร่มไทร ให้ลูกหลานไปนานๆ เทียบกับ สินค้า ก็ไม่ต่างกัน คือ ต้องคำนึงถึงทุกคนที่อยู่รอบข้าง สร้างสมดุล ในสังคม สินค้า นั้นก็จะวางอยู่ในตลาดได้ อย่างยาวนานเช่นกัน
โจทย์ของการอยู่อย่าง ยาวนาน เป็นการมองเชิงสัจจธรรม เป็นความจริง เป็นสมดุล ที่สร้างการยอมรับ สร้างสุขทุกคน
แนวคิดนี้ ถูกปรับ ประยุกต์ นำมาใช้กับการ ปรับโฉมใหม่ ของ “ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า โอทอป ขอนแก่น” ที่สังคมยุคนี้ ต้องการการมีส่วนร่วม สังคมไทย พิสูจน์มาแล้ว ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ว่า เป็นสังคม มีน้ำใจ มีการลงมือ ลงแรง ในทุกกิจกรรม
ผนวกกับ จุดเด่น ของ จังหวัดขอนแก่น ที่มี ความเข้มแข็งของภาคเอกชน เป็นสูตร “ขอนแก่นโมเดล” ที่ทำให้หลายงานช้าง กลายเป็นงานจิ๋ว มาแล้ว
การปรับปรุง ศูนย์ฯ อาจต้องใช้เงิน มาปรับปรุง- พลิกโฉม งบประมาณมาจากไหนกันล่ะ งบประมาณแผ่นดิน คงไม่ง่าย ยิ่งยุคหลังโควิด-19 คงริบหรี่…
แต่เมื่อ ชีวิตต้องเดินทางต่อไป กลยุทธ ที่หยิบมาใช้ และ “โดนใจ” คือ การมีส่วนร่วม ซึ่งก็เป็นกลยุทธไม่ใช่เรื่องใหม่ ในเชิงการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพียงแต่ โครงสร้างสังคม ที่ซับซ้อน ข่าวสารที่มาได้หลากหลายช่องทาง คำนี้จึงเป็น คำสำคัญ ในการกลายเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ขึ้นมาได้ อย่างทรงพลัง
ฐานแนวคิดของ “ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐเป็นผู้บริหารบ้านเมือง โดยมีภาคเอกชน เข้ามาร่วมสนับสนุน กลายเป็นวงออเคสตร้า ดังกระหึ่ม กึกก้อง
การปรับโฉม “ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า โอทอป ขอนแก่น” จึงเป็นความร่วมมือ ระหว่าง ภาครัฐ-มีนโยบาย สินค้า โอทอป มาตั้งแต่ปี 2544 และการเข้ามาร่วมมือ เติมมิติการบริหารจัดการโดยภาคเอกชน เพื่อตอบโจทย์ ความยั่งยืน ด้วย กลยุทธ “การมีส่วนร่วม” ด้วยทุน ด้วยวัสดุ ด้วยกำลังกาย ด้วยประสบการณ์ด้านบุคคลากร ปิดจุดอ่อน ตอบโจทย์ความยั่งยืน
ระยะเวลาของการ ปรับโฉม ทางกายภาพ ใช้เวลา 129 วัน และเปิดทำการโฉมใหม่ ไปแล้ว เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา
บทพิสูจน์ อีกบท ที่ใช้กลยุทธ การมีส่วนร่วม มาก่อน การใช้เงิน เป็นตัวเดินเรื่อง เช่น คำถามว่า จะปรับปรุงศูนย์ฯ มีงบไหม ? มีเงินเท่าไหร่ ?
งบประมาณ อาจสร้างบ้าน สร้างอาคาร ทำได้ตามงบประมาณที่มี แต่การสร้าง “การมีส่วนร่วม” เรททำได้อย่าง…. ไร้รูปทรง และไร้ขีดจำกัด “ขอนแก่นโมเดล “ เท่านั้นแหละ ที่ทำได้….เพราะได้ลงมือทำ….และวางแผน ให้มีความยั่งยืน ควบคู่กันไป ให้อยู่คู่กับบ้านเมืองนี้ไปอีกนานๆ …..