ทำไม ต้องมีงานไหม @ขอนแก่น   


22 ธันวาคม 63 04:26:45

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”

โดย “น้องดอกคูน”

….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูน และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….

….หลายคำถาม กับหลายคำตอบ…มองต่างมุม ย่อมเป็นเรื่องดี แต่เป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาบ้านเมือง ให้เดินไปข้างหน้า แบบไม่มีข้อแม้ อาจต้องอดทนบางเรื่องไม่สะดวกสบายบางเวลา แต่เพื่อส่วนรวม มองผ่านๆไปบ้าง สุดท้าย คนได้ คือ สังคมดีๆที่เราอยู่ร่วมกัน..ใช่ไหม ..
 
ชวนคุยเรื่อง การจัดงานกิจกรรมระดับจังหวัด ของ ขอนแก่น-บ้านเฮา  คือ งาน “เทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด” ปีนี้-2563 นับเป็นปีที่ 42   ว้าวววว…ยาวนาน เกือบครึ่งอายุคน เชียวนะ…
กำหนดเวลา ในการจัดงาน 12 วัน  12 คืน ทำนิ่งๆ คือ 29 พย-10 ธค ของทุกปี  และเพิ่งจะมีการรำบวงสรวง เมื่อ 5 ปีก่อน วางเวลาไว้ ก่อนงานไหมฯ 1 วัน คือ 28 ธันวาคม ของทุกปี
 

มีคำถาม ที่ขอแลกเปลี่ยน กันดังนี้

ทำไม ต้องจัดในบริเวณศาลากลาง ?
พื้นที่อาจดูคับแคบ เมื่อวางไลน์กิจกรรม ในคราวเดียวกัน แต่เป็นสถานที่ ที่แทบจะไม่ต้องอธิบายความมาก ว่าตั้งอยู่ที่ใด เพราะเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ไม่ต้องมีค่าเช่าสถานที่ น้ำไฟ สะดวก พร้อมพรัก…
 
ทำไม ต้องจัดเป็นแนว “งานวัด”  เดินกันฝุ่นฟุ้งไปหมด ?
การจัดงานช่วงปลายปี เป็นข้อดี เรื่องอากาศเย็นๆ (แม้พักหลัง อากาศ จะร้อนตับแล่บ-เราไม่เจออากาศเย็นๆ มานานหลายปีกันแล้วนะ ) ฤดูกาลนี้เป็นเวลา หลังเก็บเกี่ยวข้าว จึงเป็นงานมหรสพ หมอลำ ดนตรี ให้พักผ่อน บันเทิงใจ แบบฟรีๆ ไม่เสียเงิน ให้ฟังดารา หมอรำคนโปรด มีร้านขายของ แบบจับต้องได้ อารมณ์จึงเป็น งานวัด มีชิงช้า ม้าหมุน นี่แหละ… 
 
ทำไม นำหลายงาน มา มัด รวม กัน ?
เพื่อให้เป็นการประหยัดต่อขนาด ในการมาเดินเที่ยวงาน คือ มาแล้วได้สัมผัส ศิลปะวัฒนธรรม หลายเรื่องราว ในคราวเดียวกัน  และเป็นการผนึกกำลังสืบสาน ประเพณีของท้องถิ่น จากหลายหน่วยงาน   
 
ทำไม ต้องมีขบวนแห่ ทำให้ รถติด ทั้งเมือง ?
การแห่ไปตามเส้นทาง ถนนในเมือง จะทำให้เกิดการรับรู้ กระจายตัวเป็นวงกว้าง คนในตลาด เห็น รับรู้ว่า มีงานประเพณี พวกเขาอาจค้าขาย มีขบวนแห่ มาถึงหน้าบ้าน ย่อมมีส่วนร่วมไปด้วย ยกน้ำ มาเลี้ยง ยกเก้าอี้มาให้นั่งพัก  ลูกหลานบางบ้าน มาเป็นนางรำ นายรำ พ่อแม่ ผู้ปกครอง เดินตามเชียร์ ให้กำลังใจกัน เสียงดนตรีคึกครื้น  เมืองมีสีสัน บรรยากาศ สนุกสนาน
รถรา อาจจะติด บ้าง ปะไรมี ปีละครั้ง บริหารใจ จัดการเส้นทาง การเดินทาง
 
การจัดงาน “เทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด” ปีนี้-2563 นับเป็นปีที่ 42    หักมุมคิด หากไม่จัดงานล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น ??
เมืองนี้ เป็น “เมืองไหม”  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงการสนับสนุน เมื่อกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา และมีหลายหน่วยงานสนองพระราชเสาวนีย์  ขับเคลื่อนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม วิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ค้าผ้าไหม เศรษฐกิจหมุนตัว มีตัวเลขการขายผ้าไหม ราวปีละ กว่า 2,000./ล้านบาท เราจะละทิ้ง เรื่องนี้ รึ..?
 
เมืองนี้ เป็น “เมืองไหม”   การตอกย้ำภาพทางการตลาด เพื่อปักหมุด ให้ผู้บริโภค/ผู้ซื้อมั่นใจ ในสินค้า ไม่ต่างจากการต้องมี เบอร์ 5 ของเครื่องใช้ไฟฟ้า จากนโยบายของ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คนที่ 53-คนปัจจุบัน ดร.สมศักดิ์  จังตระกุล  ร่วมกันผลักดันกับภาคเอกชน บนฐานของ แนวคิด “ ขอนแก่นโมเดล ” จนได้รับใบรับรองจาก  UNESCO  ให้เป็น “ ขอนแก่น เมืองหัตถกรรมโลก แห่งผ้าไหมมัดหมี่ ” เสริมงานการตลาด เราจะละทิ้ง เรื่องนี้ รึ..?
 
เมืองนี้ เป็น “เมืองไหม”  จึงเป็นหนึ่งในของฝาก ที่ผู้รับภาคภูมิใจ เป็นงานฝีมือ ประเภท ทำด้วยมือ-Hand Made  สืบสานภูมิปัญญา ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ปู่ ตา ย่า ยาย ซึ่งนับวันหาได้น้อยลง นับเป็นรากเหง้า เป็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น   เราจะละทิ้ง เรื่องนี้ รึ..?
 

เมืองนี้ เป็น “เมืองไหม”  จึงเป็นหนึ่งในของฝาก ที่ผู้รับภาคภูมิใจ เป็นงานฝีมือ ประเภท ทำด้วยมือ-Hand Made  สืบสานภูมิปัญญา ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ปู่ ตา ย่า ยาย ซึ่งนับวันหาได้น้อยลง นับเป็นรากเหง้า เป็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น  เราจะละทิ้ง เรื่องนี้ รึ..?  

เมืองนี้ มีคำขวัญ เป็น “เมืองผูกเสี่ยว “ บริบทของ คนอีสานที่ฮักแพงกัน คนรักกัน ย่อมมีความรู้สึกที่ดีๆต่อกัน  และทำให้บ้านเมือง เกิดเรื่องดีๆขึ้น เช่นกัน เพราะความรัก เป็นบทแรกของเรื่องดีๆ ในทุกสังคม เราจะละทิ้ง เรื่องนี้ รึ..?  

เมืองนี้ ยังต้อง มีงาน “กาชาด”  สภากาชาดไทย ที่ย่อส่วนลงมาถึงระดับจังหวัด ระดับอำเภอ คือ เหล่ากาชาด และ กิ่งกาชาด ตามลำดับ  เป็นหน่วยงาน ที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล ที่ลงไปถึงประชาชนทุกระดับที่ต้องร่วมกัน ให้และรับระหว่างคนในชุมชน สังคม เราจะละทิ้ง เรื่องนี้ รึ..? 


“เทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด” จึงเป็นเสมือน ปลายทาง ปลายท่อ ของ ทั้ง 3 งาน ที่จะช่วยทำให้ ประชาชน มีส่วนร่วม และสัมผัสได้ อย่าง ต่อเนื่อง ไม่ลืมเลือน หรืออาจมีพัฒนาการ ตามกาลเวลา ยุคสมัยของเทคโนโลยี

บทความนี้ จึงยาว กว่าปกติ เพราะเป็นการสื่อสาร ที่เป็นเหตุ เป็นผล มีคำอธิบาย เป็นมรรคผล ที่พวกเราทุกคน ต้องเดินทางร่วมกัน บนเส้นทางชีวิต ที่ยังเหลืออยู่ และอยากเห็นสังคมดีๆ ส่งต่อไปให้ลูกหลาน

ทั้งหมด จึงเป็น คำถาม-คำตอบ ที่ทุกคน ควรเปิดตาอ่าน  เปิดใจฟัง  อ่านแล้ว ย้อนกลับไปอ่านได้อีก กี่รอบ กี่รอบ ก็เป็นคำตอบในใจของแต่ละคน ได้เอง………








หวยเด็ดงวดนี้
  • ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
    16 เม.ย. 2567
  • รางวัลที่ 1 943598
  • รางวัลเลขหน้า 3 ตัว 729 727
  • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว 154 200
  • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว 79
เรื่องอื่นๆในหมวด

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS