เขื่อนอุบลรัตน์ ดูแล อีก 6 เขื่อน ในอีสาน
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
การบริหารจัดการน้ำ สำคัญกับการก่อตั้งถิ่นฐานของผู้คน พบว่า ความเจริญจากในอดีต ยุคกรีก เมโสโปเตเมีย ล้วนพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน การเคลื่อนย้าย ไปตามลุ่มน้ำ เส้นทางเดินของแม่น้ำทั้งสิ้น
ภาคอิสาน มีลำน้ำ ที่เรียกว่าเป็นลำน้ำสาขาของลุ่มแม่น้ำโขง อย่าง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำน้ำสายเล็กสายน้อย ที่เกิดตามธรรมชาติ ของเทือกเขา
เขื่อนอุบลรัตน์ ตั้งอยู่ที่อำเภออุบลรัตน์ ระยะทางจากตัวเมือง ราว 50 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินเหนียว ที่ก่อสร้างมาแล้ว เมื่อ 51 ปี ก่อน นับเป็นเขื่อนแห่งแรกของภาคอิสาน และถูกกำหนดให้เป็น “เขื่อนหลัก” ที่ใช้ควบคุม อีก 6 เขื่อน ที่สร้างในเวลาต่อมา
มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศูนย์ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ทำงาน การควบคุม ด้วยระบบ Remote Control ผ่านออฟฟิค คล้ายโครงข่ายใยแมงมุม ที่ต้องเชื่อมระบบถึงกันทุกเขื่อน ได้แก่ เขื่อนน้ำพุง เขื่อนปากมูล เขื่อนสิรินธร เขื่อนห้วยกุม เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนลำตะคอง
ทุกเขื่อน เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นมาเพื่อ วัตถุประสงค์หลัก 2 เรื่อง คือ การผลิตไฟฟ้าและการชลประทาน-เพื่อการเกษตร ของพี่น้องประชาชน พื้นที่หลังเขื่อน ซึ่งต้องการน้ำในฤดูแล้ง ยาวนาน 6 เดือน หรือครึ่งปี
ภาคอีสาน มีความต้องการใช้ไฟฟ้า ราว 3,000 เมกกะวัตต์ แต่ทุกเขื่อนที่รวมกัน ผลิตไฟฟ้าได้ ราว 1,000 เมกกะวัตต์ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน- สปป.ลาว อาทิ จากเขื่อน น้ำงึม หงสา และไซยยะบุรี ( ราวอีก 2 ปี ข้างหน้า )
พื้นที่ชลประทาน ที่ได้รับการจัดสรรน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ ครอบคลุม 300,000 ไร่ มีปลา กุ้ง ให้ ชาวบ้านจับกิน เป็นโปรตีนใกล้บ้าน การบริหารน้ำที่เกินกำลัง จนเกิดน้ำท่วม มีเพียง 3 ครั้ง ในรอบตั้งแต่การก่อตั้งเขื่อน คือ ปี 2521, 2554 และ 2560 ที่ผ่านมา
ภัยธรรมาชาติ มาเร็วและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การบริหาร สร้างสมดุลของน้ำ ให้เสมอภาค ระหว่างคนเหนือเขื่อน-คนใต้เขื่อน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ปีไหน ปล่อยน้ำมากไป หน้าแล้ง น้ำหมดเขื่อน หรือปล่อยน้อยไป เกษตรกร รอคอยน้ำ ทำนา ทำสวน ที่ปลายน้ำ
คนทั้งสองฟาก จึงต้องเข้าใจกัน และเตรียมตัว น้ำขาด-น้ำเกิน สำหรับเหตุต่างๆ ได้อย่าง ย่อมต้องเสียบางอย่างไปบ้าง ทำใจได้ไหม…..
นอกจากนี้ เขื่อนยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีธรรมชาติสวยงามมาก เขื่อนผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทั่วประเทศจำนวน 15 เขื่อน เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ 5 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ เขื่อนศรีนครรินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนรัชประภา จัดกระเป๋า ไปเที่ยวเขื่อน ไปเป็นชาวเขื่อน กันเถอะ…..
เขื่อนอุบลรัตน์ มีความจุของอ่างเก็บน้ำ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตร
“ศูนย์ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “ Remote Control 7 เขื่อนในภาคอีสาน เข้าด้วยกันทั้งหมด
เส้นทาง ลำน้ำ เมื่อมีหลักในการพัฒนา อีสานไม่แห้งแล้ง กันอีกต่อไป
###