1 Day Trip in KKC @ มัญจาคีรี   


14 สิงหาคม 61 00:57:55

คอลัมน์  “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

จังหวัดขอนแก่น มี 26 อำเภอ  มีที่เที่ยว ที่ไหนกัน น๊าาาา…..
ตามมาเลย…ร่วมคณะไปทดสอบเส้นทาง ท่องเที่ยววิถีชุมชน ให้ครบ ทั้ง 26 เส้นทาง ใน 26 
อำเภอ แล้วคุณจะรู้ว่า นครขอนแก่น มีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ของดีพื้นถิ่น ของกินอร่อยซุกตัวอยู่ตามชุมชน ชวนให้ไปสัมผัส วัตถุประสงค์ คือ อาจเป็นเส้นทาง แสวงหาที่ใช่ สำหรับการผนวก กับการเป็นเมือง MICE CITY หมายถึง การเป็นเมืองที่ลงตัวของ การจัดประชุม ที่เที่ยวที่เดียวกัน ด้วยแนวคิด  "Amazing  Thailand : Go Local เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต"

อำเภอมัญจาคีรี  ลำดับที่ 15/26
( Beautiful  Sunday   : วันอาทิตย์ที่  5  สิงหาคม  2561 ) 
 
ล้อหมุน ออกเดินทาง จากตัวเมือง มุ่งหน้า อำเภอมัญจาคีรี ระยะทาง 55 กม. บางคนหัวใจพองโต อยากไปเห็นดอกกล้วยไม้ช้างกระ หลังจากที่รู้ข่าวว่าเขามาปลูกกันไว้ตั้งแต่เมื่อ 5 พฤกษาคม ที่ผ่านมา…..

เต่าเพ็ก ลักษณะเด่น คือ กระดองมีลักษณะคล้ายหมวก เต่าเพ็ก ลักษณะเด่น คือ กระดองมีลักษณะคล้ายหมวก 

จุดแรกคือ การเข้าเยี่ยมชม วิถี “เต่ากับคน” ณ หมู่บ้านเต่า พวกเขาอยู่ร่วมกันแบบถ้อยที ถ้อยอาศัย พวกเขา ต่อแตะ.. ตั๊วมเตี้ยม… กลายเป็นสัตว์เลี้ยง ประจำบ้าน พวกเขาจำบ้านได้ เมื่อออกไปเที่ยว ก็จะเดินกลับบ้านได้อย่าง แม่นยำ

“เต่าเพ็ก” เป็นเต่าบก หมายถึงใช้ชีวิตบนบก ไม่ลงไปแหวกว่ายในน้ำ เหมือนที่เราเห็นกัน เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา สันนิฐานว่า พื้นที่นี้ เป็นที่อยู่ของพวกเขามาก่อน ก่อนที่มนุษย์จะเข้ามาตั้งหมู่บ้าน หรือน่าจะบอกกันว่า เต่าอยู่มาก่อนคนซะอีก

ความเชื่อของชุมชน คือ “เต่า” เหล่านี้เป็นสัตว์เลี้ยงของ เจ้าพ่อมเหสักข์ ผู้ก่อตั้งเมืองชลบถ (ชนบท ใน ปัจจุบัน) จึงไม่มีการทำร้ายพวกเขา คนกับเต่า จึงอยู่ร่วมกันเรื่อยมา

“เต่าเพ็ก” ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละราว 4-5 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวอีกราว 60-90 วัน อาหารโปรด คือ แตงกวา ผักสด พวกเขาอาศัยอยู่ตามบ้าน ภายในชุมชน แม้จะถูกนำมาโชว์ กลางลานของหมู่บ้าน แต่พวกเขาก็เดินๆ กลับบ้านได้เอง แม้จะใช้เวลาหลายวันหน่อยก็เถอะ…เล่ากันว่า น่าจะมีระบบความจำเป็นเลิศ คล้ายระบบ GPS กระมัง พวกเขาอายุยืน สถิติที่พบ คือ 374 ปี

เวลากลางวันปกติ พวกเขาจะแอบเข้าไปหลบตามชายร่ม ใต้ต้นไม้ เพื่อหลบแดด เวลาที่ออกมาหากิน ราว เช้ามืด-7 โมง เช้า และเย็นๆสัก 5 โมงเย็น อีกรอบ

ที่บ้านเต่า แห่งนี้ มีมัคคุเทศน์น้อย-เด็กๆ นักเรียน จากโรงเรียนบ้านกอกป่าผุวิทยา  มาทำหน้าที่ พานักท่องเที่ยว เดินชมไปรอบๆบริเวณ  เป็นการฝึกฝนทักษะ และมีค่าขนมพอเป็นกำลังเล็กๆ

มัคคุเทศน์น้อย มัคคุเทศน์น้อย 

ลักษณะเด่นของเต่าเพ็ก พวกเขามีความน่ารัก ด้วยกระดองที่โค้ง ทรงหมวกพี่ทหาร สีออกเหลือง เวลายืน ยื่นขาที่แข็งแรง เดินเร็วมาก  ทั้งที่ดูว่าต้องแบกกระดองไปด้วย แต่คล่องปรืด…

จุดต่อไปคือ บริเวณลานป่ามะขาม  ภายในวัดป่ามัญจาคีรี  ธรรมชาติสร้างสรร ความงาม จากบึงในบริเวณเดียวกัน มีดอกบัว ขึ้นสวยในน้ำ บนบก บนต้นไม้ จึงมีกล้วยไม้ “ช้างกระ”  ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ กระจายไปทั่วผืนป่า หอมอ่อนๆยามดอกบานสะพรั่ง

ความสมดุลของระบบนิเวศน์ เป็นข้อสังเกตุว่า กล้วยไม้เติบโตได้ดี คู่กับต้นมะขาม เพราะมีเปลือกไม้ที่ช่วยอมความชุ่มชื่น และใบที่เล็กจิ๋ว ทำให้แสงแดดส่องถึง ทะลุลงมายังพื้นล่าง พืชจึงเติบโตได้ ธรรมชาติเกื้อกูลกัน  

กล้วยไม้ กล้วยไม้ “ช้างกระ” อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของมัญจาคีรี

กล้วยไม้ “ช้างกระ”  อายุยาวนานน่าจะกว่าร้อยปีขึ้นไป  ฤดูกาลที่พวกเขาเตรียมบานสะพรั่ง หอมอบอวล ไปทั่วบริเวณ  ราว พฤศจิกายน-ธันวาคม-มกราคม และต้นที่ชาวเมืองขอนแก่นมาช่วยกันปลูกไว้ เมื่อ 5 พฤษภาคม นั้น บางส่วนพร้อมที่จะชูช่อออกดอก ให้ชื่นใจกันแล้ว เช่นกัน

อาหารกลางวัน พร้อมแล้ว ที่ บริเวณโรงเรียนบ้านขามคุรอุปกรณ์ ข้าวเหนียว ปลาเผา ส้มตำ ลาบปลา ปลาส้ม อร่อย ตามแบบฉบับบ้านๆ พร้อมฟังบรรยายสรุป จากผู้นำชุมชน ในการนำพาสมาชิก ประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว

โปรดักส์แชมเปี้ยน ของชาวบ้านขาม ที่เริ่มกันมาตั้งแต่ ปี 2553  คือ “มะเขือพวงไร้หนาม”  วันนี้ ตัดขาย ส่งเข้าตลาดไท วันละ 2 ตัน

พืชเศรษฐกิจ อีกตัวที่ทำเงิน คือ มันเทศญี่ปุ่น ขายกันเป็นอาชีพ ไม่มีความจนในหมู่คนขยัน…..

ภาคบ่าย ไปเยี่ยมชม “สิม” หรือ โบสถ์โบราณ จัดขั้นลำดับเป็น “มรดกโลก” ณ วัดสระทอง เป็นความภาคภูมิใจของชาวมัญจาคีรี ยิ่งนัก….

“สิม” โบราณ ชาวพุทธควรมาเยือนสักครั้ง

จุดสุดท้ายของทริปนี้ คือ เยี่ยมชม อุดหนุน จัดซื้อ ผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มสตรี  “ไหมอีรี่ “ ย้อมสีธรรมชาติ 

“ไหมอีรี่“  คือ อะไร ไหมอีรี่ คือ หนอนไหม ที่กินใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร (จากความคุ้นเคย เป็น หนอนกินใบหม่อน ) เส้นไหมที่ได้รับ จึงเป็นปุ่มปม สวยแปลกไปอีกแบบ และมีคุณสมบัติพิเศษ คือ อุ่นเมื่ออากาศหนาว และเย็นสบาย ยามหน้าร้อน ถูกใจขาช้อป เธอกวาดผ้าพันคอ เกลี้ยงชั้น บอกว่ากำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ จึงขอนำไปเป็นของฝากให้เพื่อนต่างชาติ รับรองว่า พวกนาง กรี๊ด..แน่ๆ  เมื่อรู้ที่มาและกรรมวิธีในการผลิต….

เสน่ห์ของ ไหมอีรี่ คือ  มีปุ่มปมเสน่ห์ของ ไหมอีรี่ คือ  มีปุ่มปม

ได้เวลาพอสมควร   คณะออกเดินทาง กลับเข้าตัวเมือง ถึงหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยสวัสดิภาพ

แต่ละจุด คุณๆ เลือกที่จะเดินทางไปได้เอง หรือไปเป็นหมู่คณะ ก็สนุก…..ปักหมุดเดินทางกันได้เลย……… 

ซีรี่ย์ต่อไป คือ อำเภอภูเวียง   ลำดับที่ 17/26 ….พร้อมแล้วจูงมือไปด้วยกัน วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม  2561 …..  สิงหา….พาแม่เที่ยว…….

 

ต้นฝ้าย ชุมชนนี้ ปลูกเองต้นฝ้าย ชุมชนนี้ ปลูกเอง

 

เมล่อน  รสชาติดี มีหลายสายพันธุ์
เมล่อน  รสชาติดี มีหลายสายพันธุ์

 

นางรำ มีความสุข ที่จะรำ ต้อนรับแขกผู้มาเยือนนางรำ มีความสุข ที่จะรำ ต้อนรับแขกผู้มาเยือน

 


ความสมบูรณ์ของป่า ทำให้หลายคน หลงไหล








หวยเด็ดงวดนี้
  • ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
    16 พ.ย. 2567
  • รางวัลที่ 1 187221
  • รางวัลเลขหน้า 3 ตัว 036 923
  • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว 980 547
  • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว 38
เรื่องอื่นๆในหมวด

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS