1 Day Trip in KKC @ ซำสูง
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
ตามมาเลย…ร่วมคณะไปทดสอบเส้นทาง ท่องเที่ยววิถีชุมชน ให้ครบ ทั้ง 26 เส้นทาง ใน 26
อำเภอ แล้วคุณจะรู้ว่า นครขอนแก่น มีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ของดีพื้นถิ่น ของกินอร่อยซุกตัวอยู่ตามชุมชน ชวนให้ไปสัมผัส วัตถุประสงค์ คือ อาจเป็นเส้นทาง แสวงหาที่ใช่ สำหรับการผนวก กับการเป็นเมือง MICE CITY หมายถึง การเป็นเมืองที่ลงตัวของ การจัดประชุม ที่เที่ยวที่เดียวกัน ด้วยแนวคิด "Amazing Thailand : Go Local เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต"
คณะออกเดินทาง จากตัวเมือง มุ่งหน้า อำเภอซำสูง ระยะทาง 35 กม. อำเภอนี้ ระยะทางไม่ไกล ประหนึ่งเป็นแถบปริมณฑล ไปด้วยกันแบบสบายๆ และรู้กันว่าจะได้สบายตา ด้วยแปลงผักสีเขียวๆ
จุดแรก เราจะไปสักการะพระคู่บ้าน คู่ชุมชน ของชาวซำสูง ที่วัดโพธิ์ชัย พระประธาน คือ “หลวงปู่พระเจ้าใหญ่”
“วัดโพธิ์ชัย” เดิม ชื่อ “วัดใหญ่” หรือ "วัดหลวงปู่พระเจ้าใหญ่" เป็นวัดเก่าแก่ ก่อตั้งเมื่อปี 2448 – เมื่อ 113 ปี ก่อน หลังเทศกาลสงกรานต์จะมีประเพณี สรงน้ำ เพื่อขอพร เป็นงานบุญใหญ่ประจำปี เพื่อมงคลแห่งชีวิต ที่ชาวซำสูงรอคอย
เยี่ยมชม การปลูกผักแปลงใหญ่ บนนื้อที่ 42 ไร่ “ผักปลอดภัย” ที่เคยได้รับรางวัล “ลูกโลกสีเขียว” มาแล้ว เป็นตัวอย่างของความสามัคคีของคนในชุมชน เมื่อถูกยกระดับจาก “กิ่งอำเภอ “ แยกออกมาจากอำเภอกระนวน เป็น “อำเภอซำสูง” เมื่อปี 2550
ความที่ มีภูมิศาสตร์ดี เป็นทุนเดิม ดินอุดม น้ำซับจากใต้ดิน การปลูกผักน่าจะได้ผลผลิตดี ปลูกผักอะไรดีล่ะ ผู้นำมีส่วนในการ “นำ” เมื่อมีห้างสรรพสินค้าใหญ่ จะเข้ามาเปิดสาขาขอนแก่น พวกเขาจึงต้องแสวงหาสินค้าในพื้นถิ่น จนมาพบกันเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่นำการบริหารจัดการ มาช่วยแบ่งปัน ให้พวกเขามีแนวทางการทำกิน มาจนถึงวันนี้
“กลุ่มเซ็นทรัล” เข้ามาช่วยสนับสนุนห้องวิจัย และรับซื้อ เข้าไปจำหน่ายใน “ท้อปซุปเปอร์มาร์เก็ต” ทุกสาขา ทั่วประเทศ
“ผักคะน้า” คือ ผักตัวเอก ที่พวกเขาผลิตได้ดี แนะนำว่า น่าจะได้ลองผักของชาวซำสูงสักครั้ง วันนี้ การรวมกลุ่มกันของพวกเขา สัมฤทธิ์ผล ทำให้มีความมั่นคงทางอาชีพ เป็นองค์กรที่สร้างควมสุขให้ทุกบ้านสมาชิก คือ “สหกรณ์กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษอำเภอซำสูง จำกัด”
เดินไปจนถึงท้ายหมู่บ้าน เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีต้นยางนาสูงใหญ่ ในน้ำมีปลา ริมบึงมีศาล “ดอนปู่-ตา” เป็นที่เคารพของชุมชน เชื่อกันว่า ท่านจะช่วยปกปักรักษาให้ร่มเย็น เป็นสุข
อาหารมื้อเที่ยง ปรุงจากผักสด สดจากแปลงปลูก เมนูอาหารพื้นบ้าน อร่อย มีความสุข พร้อมการแสดงดนตรีของลูกหลานชาวซำสูง เล่นพิณ แคน และซอ ให้นางรำเครื่องร้อน ขอออกไปฟ้อนกันหลายคน
จังหวะนี้แหละ ได้ช้อปปิ้งผักสดกันสมใจ และจากนี้ไป แบรนด์ ”ซำสูง” จะตอกย้ำ อยู่คู่กับ ร้านอาหาร อีกหลายร้าน
จากนั้นไปเยี่ยมชม “โรงงานผลิตปลาร้าแม่ประกาศ” ที่ผลิตส่งขายไปทั่วประเทศ คนอีสานกับปลาร้า เป็นของคู่กัน ความอดทน ขยันของ ”แม่ประกาศ” เมื่อวันนั้น-31 ปีก่อน ทำให้ครอบครัวนี้ มีพัฒนาการ ในการสืบต่อ ความตั้งใจของมารดา วัย 64
ล่าสุด “บัวขาว” นักมวยชื่อดัง ก็หันมาเป็นพ่อค้า ปลาร้า สั่งผลิตเป็นยี่ห้อของตัวเอง “บัญชาเมฆ” แสดงว่า โรงงานผลิตได้อร่อยจริง
เดินชมขบวนการผลิต ภายในโรงงาน การหมักปลาร้า ต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี รสชาติจึงจะเข้าที่ โรงงานนี้ใช้ปลากะตัก เป็นวัตถุดิบ นัยว่าเป็นปลาทะเลที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นวัตถุดิบประเภทเดียวกับการผลิตน้ำปลา
การต้อนรับคณะ เป็นที่ครึกครื้น ของการแสดง กลองยาวสาวน้อย และมินิคอนเสริท์-ร้องหมอลำ จากหลานสาวคนสวยของ “คุณยายประกาศ”
แต่ละจุด คุณๆ เลือกที่จะเดินทางไปได้เอง หรือไปเป็นหมู่คณะ ก็สนุก…..ปักหมุดเดินทางกันได้เลย………
ซีรี่ย์ต่อไป คือ อำเภอสีชมพู ลำดับที่ 19/26 ….พร้อมแล้วจูงมือไปด้วยกัน วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 …..
“หลวงปู่พระเจ้าใหญ่” พระคู่บ้าน คู่ชุมชนของชาวซำสูง ปาก “สีชาด” เชื่อกันสืบมาว่า ผู้สร้างเป็นสตรี
โรงงานบรรจุ ที่ต้องมีมาตรฐาน
แปลงผัก ที่ซำสูง จะเขียวสด เต็มที่ เต็มแปลง ยามหน้าหนาว
ลายมือ จากลายเขียน สุดคลาสสิก ของแม่เฒ่าวัย 80 กลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
ต้นยางนาขนาดใหญา อายุเกินร้อยปี
อาหารมื่อเที่ยง บ้านๆ และขอประดิษฐ์ ให้เป็นอาหารตาได้ด้วย
ปลาร้า ต้องอยู่คู่ ส้มตำ
นางรำ สนุกและตื่นเต้น แต่มีความสุขทุกครั้งที่ได้ออกมารำ
การแสดงของลูกหลาน ที่เล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้ อาทิ แคน พิณ และซอ