1 Day Trip in KKC @ พล
12 กันยายน 61 23:58:34
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
จังหวัดขอนแก่น มี 26 อำเภอ มีที่เที่ยว ที่ไหนกัน น๊าาาา…..
ตามมาเลย…ร่วมคณะไปทดสอบเส้นทาง ท่องเที่ยววิถีชุมชน ให้ครบ ทั้ง 26 เส้นทาง ใน 26
อำเภอ แล้วคุณจะรู้ว่า นครขอนแก่น มีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ของดีพื้นถิ่น ของกินอร่อยซุกตัวอยู่ตามชุมชน ชวนให้ไปสัมผัส วัตถุประสงค์ คือ อาจเป็นเส้นทาง แสวงหาที่ใช่ สำหรับการผนวก กับการเป็นเมือง MICE CITY หมายถึง การเป็นเมืองที่ลงตัวของ การจัดประชุม ที่เที่ยวที่เดียวกัน ด้วยแนวคิด "Amazing Thailand : Go Local เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต"
ตามมาเลย…ร่วมคณะไปทดสอบเส้นทาง ท่องเที่ยววิถีชุมชน ให้ครบ ทั้ง 26 เส้นทาง ใน 26
อำเภอ แล้วคุณจะรู้ว่า นครขอนแก่น มีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ของดีพื้นถิ่น ของกินอร่อยซุกตัวอยู่ตามชุมชน ชวนให้ไปสัมผัส วัตถุประสงค์ คือ อาจเป็นเส้นทาง แสวงหาที่ใช่ สำหรับการผนวก กับการเป็นเมือง MICE CITY หมายถึง การเป็นเมืองที่ลงตัวของ การจัดประชุม ที่เที่ยวที่เดียวกัน ด้วยแนวคิด "Amazing Thailand : Go Local เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต"
อำเภอพล ลำดับที่ 23/26
( Beautiful Sunday : วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2561 )
คณะออกเดินทาง จากตัวอำเภอเมือง มุ่งหน้า อำเภอพล ระยะทาง 80 กม. นั่งกันสบายๆวันที่แดดไม่ร้อน มีเม็ดฝน โรยตัวมาบางๆ สายลมอ่อนล้อต้นข้าววัยเพิ่งจะตั้งลำ สีเขียวไหวๆ พริ้วตา สดชื่นจัง
เมื่อไปถึง ต้องตื่นตา ตื่นใจ กับ “รถซาเล้งนำเที่ยว” ที่เรียงรายจอดรอรับผู้โดยสาร มีร่มสีสด ปักกันแดด กันฝนได้ด้วย สักการะ “พระเจ้าใหญ่” วัดศรีหงส์ทอง พระคู่บ้าน คู่เมืองของชุมชนเมืองพล ส่งบุญ อุ่นใจกันทั่วถ้วน
“อำเภอพล” ชื่อนี้ มีที่มา ตั้งแต่ยุคสมัยของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงบัญชาให้ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไปตีเวียงจันทน์ เมื่อทัพเดินทางมาถึงบริเวณหนองน้ำขนาดใหญ่ “หนองละเลิงหวาย” จึงสั่งให้ไพร่พลพักทัพ สะสมพลัง ก่อนที่จะเดินทัพต่อ จึงเป็นที่มา ของคำว่า “พล” และเป็นชื่อของอำเภอพล มาจวบปัจจุบัน
ทุกคนพร้อมใจกัน กระโดดขึ้นรถสามล้อซาเล้ง บรรทุกผู้โดยสารไปคันละ 3 คน ระยะทาง ราว 2 กิโลเมตร สนุกกันทั้งคณะ
ศึกษาธรณีวิทยา เรื่องหิน ที่มีรูปทรงต่างๆ คล้าย “แพะเมืองผี” จนเป็นตำนานเล่าขาน “โสกผีดิบ” ฟังแค่ชื่อก็สยองแล้ว
“โสก” หมายถึง ลักษณะของแอ่ง ที่มีองศาเอียงลาดลงไปยังที่ต่ำกว่า จุดนี้เป็นทางลาดท้ายหมู่บ้าน ในปี 2484 เกิดโรคฝีดาษ มีชาวบ้านเสียชีวิตกันหลายคน มีการวางทิ้งศพเกลื่อน จึงเรียกกันว่าเป็น โสก ที่มีคนตายในวัยต่างๆ จึงเรียกว่า “ผีดิบ”
ความมหัศจรรย์ ของธรรมชาติ เหนือคำบรรยาย แรงกัดเซาะ ทำให้ หิน ดิน แปรหน้าตา เป็นรูปทรงต่างๆ อย่างน่าทึ่ง
จากนั้น ได้เวลานั่งสามล้อ แวะจุดฐานการเรียนรู้ จุดต่างๆ เช่น ฐานทอผ้า ฐานจักสาน และมีบ้านเก่าอายุเกือบร้อยปี ที่ชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ไว้อีก 2 หลัง
ศูนย์เรียนรู้ ที่เป็นไฮไลท์ของชุมชนนี้ คือ การทอผ้าบุญ “ฮีต 12 บุญราศรี” เป็นความศรัทธาของผู้หญิง ที่พวกเธอจะนุ่งผ้าซิ่น ผืนงามไปทำบุญ ของงานบุญประเพณีแต่ละเดือน เช่น บุญเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เป็นต้น
ได้เวลาอาหารกลางวัน เมนู พื้นบ้าน จากผลิตภัณฑ์ ภายในชุมชน แซ่บนัว กันทุกคน
หลังอาหารกลางวัน ซึ่งทานกันเลยเวลาไปบ้างแล้ว คณะไปเยี่ยมชม “สถานีรถไฟเมืองพล” ที่ยกมาไว้ที่หน้า ที่ว่าการอำเภอพล แลนด์มาร์ค จุดแวะพักของคนรุ่นใหม่ ที่ร่วมรำลึก ถึงวันก่อนเก่า ร่วมกัน สภาพเดิมๆที่ยังคงรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวบ้านบางคน เดินเข้าไปสะกิดถามผู้คนแถวนั้นว่า เมื่อไหร่จะเปิดขายตั๋วรถไฟล่ะ หรือ เมื่อไหร่รถไฟจะเข้า-เข้ากี่โมง…ของเขาเหมือนจริง จริงๆ จุดนี้ มีพืช ผัก ของดี ของอร่อย ผ้าไหม ผ้าฝ้ายของอำเภอพล จัดรอไว้ให้ขา
ช้อปปิ้ง ได้ซื้อกลับบ้าน ถูกใจกันทุกคน
ไปเยี่ยมชม อ่างเก็บน้ำ “ละเลิงหวาย” เป็นบริเวณชัยภูมิที่ตั้ง ของกองทัพ ในสมัย ปี พศ.2331 แห่งกรุงธนบุรี ที่ยกทัพจะไปตี เมืองลาว และพักกำลังพล โดยรอบของหนองน้ำ จนเป็นที่มาของชื่อ อำเภอพล ในปัจจุบัน คือ พล = กำลังพล
อ่างเก็บน้ำ “ละเลิงหวาย” เป็นบึงใหญ่ ขนาดราว 1,600 ไร่ มีผักตบ และต้นธูปฤาษี ขึ้นเป็นวัชพืช การกำจัด จึงมีการนำประโยชน์ไปใช้ ในงานจักสาร เช่น กระเป๋า เสื่อ พรมเช็ดเท้า มีกำลังพลจากพี่ทหาร เข้ามาช่วย และทุนดำเนินการ ที่ชาวเมืองพล ช่วยกันบริจาคเข้ามา มากกว่าสามล้านบาทแล้ว กำลังจะกลายเป็นจุดออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจของชาวอำเภอพล รวมทั้งเป็นจุดท่องเที่ยวได้อีกด้วย
บอกลา อำเภอพล ด้วยหัวใจฟองฟู ออกเดินทาง กลับเข้าตัวเมือง ถึงหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยสวัสดิภาพ
แต่ละจุด คุณๆ เลือกที่จะเดินทางไปได้เอง หรือไปเป็นหมู่คณะ ก็สนุก…..ปักหมุดเดินทางกันได้เลย………
ซีรี่ย์ต่อไป คือ อำเภอแวงใหญ่ ลำดับที่ 24/26 ….พร้อมแล้วจูงมือไปด้วยกัน วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 …..
การย้อมผ้า ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น สีธรรมชาติ แม้หลายขั้นตอน แต่ เป็นมิตรแต่สิ่งแวดล้อม
“กระติบข้าว” ฝีมือสานขั้นเทพ
โชว์ กรรมวิธีการทอผ้า จิตวิญญาณ ที่มั่นคง ของสาวๆ ชาวอิสาน
โชว์ กรรมวิธีการทอผ้า จิตวิญญาณ ที่มั่นคง ของสาวๆ ชาวอิสาน
สานขั้นเทพ อีกชิ้น กระด้งสำหรับเลี้ยงไหม
“กี่ทอผ้า” อายุ กว่า 100 ปี
“โสกผีดิบ” ความแปลกของธรรมชาติ
ผ้าบุญ “ฮีต 12 บุญราศรี “
“ละเลิงหวาย” ปอดแห่งใหม่ของชาวอำเภอพล
หมู่บ้านนี้ ดูเหมือนว่า มีความพร้อมในการเยี่ยมชมสูง