1 Day Trip in KKC @ แวงใหญ่
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
ตามมาเลย…ร่วมคณะไปทดสอบเส้นทาง ท่องเที่ยววิถีชุมชน ให้ครบ ทั้ง 26 เส้นทาง ใน 26
อำเภอ แล้วคุณจะรู้ว่า นครขอนแก่น มีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ของดีพื้นถิ่น ของกินอร่อยซุกตัวอยู่ตามชุมชน ชวนให้ไปสัมผัส วัตถุประสงค์ คือ อาจเป็นเส้นทาง แสวงหาที่ใช่ สำหรับการผนวก กับการเป็นเมือง MICE CITY หมายถึง การเป็นเมืองที่ลงตัวของ การจัดประชุม ที่เที่ยวที่เดียวกัน ด้วยแนวคิด "Amazing Thailand : Go Local เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต"
ล้อหมุน ออกเดินทาง จากตัวอำเภอเมือง มุ่งหน้า อำเภอแวงใหญ่ ระยะทาง 87 กม. เส้นทางราบเรียบบนเส้นทาง ที่หลายคนรู้สึก ไม่ค่อยคุ้นเคยกับอำเภอนี้นัก ชื่ออำเภอดูฟังห่างไกล คาดเดายากว่า อำเภอนี้ หน้าตาจะเป็นอย่างไร
เดินทางถึงจุดแรก เป็นสถานปฏิบัติธรรม ชื่อ “มหาวิทยาลัยปูนา” เป็นสถานปฏิบัติธรรม ที่พักใจของชาวพุทธ ชื่อฟังแปลกๆ ขยายความว่า จากการที่เป็นที่ปฏิบัติธรรม เป็นการสอนธรรมะ เป็นความรู้ โดยมหาศรัทธา ที่มีต่อ “หลวงพ่อเฉย” จึงปรากฏเป็น “เจดีย์ศรีแวงใหญ่” ขนาด ความสูง 5 ชั้น ด้วยทุนก้อนแรก 1 ล้านบาท ในปี 2559 ก่อสร้างเรื่อยมา ด้วยทุนบริจาคที่เติมเข้ามาไม่ขาดสาย ปัจจุบันใช้งบประมาณไปแล้ว ราว 44 ล้านบาท สร้างเสร็จแล้ว รอความสมบูรณ์ของภาพเขียน พุทธศิลป์ วิจิตรงดงาม กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เริ่มมีนักท่องเทียวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมมากขึ้นกว่า วันก่อนเก่า
ที่มาของชื่อ คือ การเป็นสถานที่ปลูกความรู้ทางธรรมะ และบริเวณที่ตั้ง เคยเป็นท้องนาที่มี “ปูนา” อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่มาของ “มหาวิทยาลัยปูนา”
เข้าเยี่ยมชม วิสาหกิจท่องเที่ยงเชิงเกษตร “กลุ่มแม่บ้านโคกสว่าง” โดยมีประธานกลุ่มที่เข้มแข็ง ขับเคลื่อน มาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา คือ นางสายทิพย์ ลามา เธอเล่าชีวิตที่ไม่เคนยอมแพ้โชคชะตาว่า ชีวิตทำงานของเธอ จากสาวโรงงานในเมืองหลวง 11 ปี และข้ามน้ำ ข้ามทะเล ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น อีก 2 ปี ชีวิตมีเพียงการขายแรงงาน แก่เฒ่าแรงหมด แล้วจะทำอย่างไรกัน คิดได้อย่านั้น จึงกลับบ้านเกิด มาเริ่มต้น ทำ “ข้าวแตน” เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ข้าวเหนียว ล้มลุกคลุกคลาน มาถึงวันนี้ จึงภาคภูมิใจ ในบ้านเกิด และมีหลายหน่วยงาน เข้ามาสนับสนุน โดยให้คำมั่นว่า จะผดุงไว้ซื่งความซื่อสัตย์ และแบ่งปัน ให้กับสมาชิกทุกคน “ข้าวแตนพันหน้า”—หมายถึงมีหน้า รสชาติต่างๆให้เลือกมากมาย จึงขายดี ขายส่งไปทั่วประเทศ ก่อนทานลองพลิกดูว่า ผลิตที่อำเภอแวงใหญ่ นั่นแหละ ของอร่อย ของแท้
อาหารกลางวัน มื้ออร่อย ภายในโรงงาน เป็นอาหารพื้นบ้าน สด ใหม่ รสชาติดี ได้บรรยากาศว่า ที่นี่ คือ ลมหายใจของชุมชน ที่พวกเขาขยัน เป็นทุนเดิน เติมด้วยกำลังเสริมที่ได้รับจากน้ำใจคนไทยด้วยกัน
แวะไปพบ พูดคุย บนเส้นทางสายปราชญ์ บ้านโนนสวรรค์ กับผู้นำชื่อ “นายหนูกาล วิรุณละพันธ์” ในพื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม ปลูกผักหวาน กล้วย ผักสวนครัว ที่น่าสนใจ คือ การทำนา 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ทำได้จริง เป็นตัวอย่าง และแรงบันดาลใจ ใก้ชาวนา คนอื่นๆ ลุกขึ้นพัฒนาตัวเองได้ดีแท้
จุดสุดท้าย เป็นกลุ่มศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชน “บ้านถลุงเหล็ก” การแปรรูปข้าวครบวงจร อาทิ ข้าวฮางสมุนไพร เป็นความสามัคคี ของชุมชนที่รวมกลุ่มกัน เห็นแล้วชื่นใน เมืองไทย อบอุ่น น่าอยู่เยี่ยงนี้
ได้เวลา พอสมควร คณะออกเดินทาง กลับเข้าตัวเมือง และ ถึงหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยสวัสดิภาพ
แต่ละจุด คุณๆ เลือกที่จะเดินทางไปได้เอง หรือไปเป็นหมู่คณะ ก็สนุก…..ปักหมุดเดินทางกันได้เลย………
ซีรี่ย์ต่อไป คือ อำเภอภูผาม่าน ลำดับที่ 25/26 ….พร้อมแล้วจูงมือไปด้วยกัน ตามนัดของ “พี่ค้างคาว” วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2561 …..
“มหาวิทยาลัยปูนา” สถานที่ตั้ง เคยมี “ปูนา” มากมาย จึงตั้งชื่อตามแหล่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
“ศาลาธรรม” ยื่นออกไปกลางบึง มองเห็นความสงบและร่มเย็น
ศูนย์เรียนรู้ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ให้ใครได้หลายคน ในทุกยามที่มาเยือน
ผู้หญิงอิสาน กับ ผ้าทอมือ เราเห็นเพียง เท่าที่เห็น
ท้องนา ต้นข้าว พืช ผัก สบายตา
ชาวแวงใหญ่ เล่าว่า หากมาเที่ยว “แวงใหญ่” จะเจอแต่ของใหญ่ๆ
ต้นตูดหมู ตูดหมา หรือ “ตะพังโขม” ใช้แทน การใส่ผงฟู
“พุทธศิลป์” ฝีมือ งามวิจิตร โดย ทีมช่าง ชาวมหาสารคาม
1 ไร่ ต่อข้าว 1 แสนต้น เป็นต้นแบบของการพัฒนาดิน