ยั่งยืน ที่ มากกว่า CSR
คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
เป็นที่รู้กันว่า การทำธุรกิจในยุคนี้ ไม่ใช่การแสวงหากำไรสูงสุด แต่เป็นการแบ่งปัน เกื้อกูลกัน ชุมชน สังคม จึงจะเดินหน้าไปด้วยกันนานๆ หรือที่เราใช้คำว่า “ยั่งยืน”
“ยั่งยืน” อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งเข้ามาใช้ ในสังคมธุรกิจเมื่อไม่นานมานี่เอง เพราะพวกเขาพบข้อเท็จจริงว่า หากปล่อยให้มีช่องว่าง ระหว่าง ความจน-ความรวย สักวันคงเกิดอาการโลกเอียง
กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลสู่ตลาดโลก มีโรงงานตั้งอยู่ที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงงานหนึ่งในหกของกลุ่ม มีกำลังการผลิต ด้วยการรับซื้ออ้อย จากชาวไร่อ้อย ของโรงงานแห่งนี้ ราว 4.2 ล้านตัน ต่อปี
ฤดูกาล การหีบอ้อย กำลังจะเริ่มต้นขึ้น โดยปกติ จะอยู่ในห้วงเดือนธันวาคม จนถึงเดือนมีนาคม (ก่อนสงกรานต์)
รัศมีการรับซื้ออ้อย เพื่อป้อนเข้าโรงงาน คือ พื้นที่โดยรอบโรงงาน อุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องเปิดโรงงานอยู่ใกล้แหล่งผลิตวัตถุดิบ ฤดูกาลหีบอ้อย เราจะพบว่า มีรถบรรทุกอ้อย วิ่งกันคึกคัก
การปลูกอ้อย เป็นอาชีพของเกษตรกร ที่ทำรายได้ประจำ เพราะโรงงานประกันการรับซื้อ ราคา ขยับ อยู่ราว 800-1,000 บาทต่อตัน พื้นที่หนึ่งไร่ มีผลผลิตราว 10-12 ตัน ใช้เวลาปลูกให้อ้อยโต ต้นสูง รอเวลาตัด 12 เดือน
ตามนโยบายของกลุ่มน้ำตาลมิตรผล เมื่อเป็นสมาชิก เกษตรกรในเครือข่าย จะมีโครงการ “พัฒนามาตรฐานมีส่วนร่วม” เป็นการลงพื้นที่ มีกิจกรรมให้กับชุมชน
ตัวอย่าง เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มผักปลอดสารพิษ กม.52 พวกเขานำพื้นที่สาธารณะ 8 ไร่ มาปันส่วนให้กับสมาชิก 24 ราย ปลูกผัก ทั้งกินเองและขาย
โครงการปลูก เพ(ร)าะ สุข โดย คุณสมควร บุญขันธ์ และครอบครัว นอกจากปลูกอ้อยป้อนเข้าโรงงานแล้ว เขาจัดสรรพื้นที่ ทำสวนเกษรตรผสมผสาน ปลูกข้าว ปลูกกาแฟ นอกจากนี้ คุณสมชายฯ ยังเป็น ผู้นิยมจด “บัญชีครัวเรือน” จึงมีส่วนทำให้เขาบริหารเงิน อย่างตระหนักรู้
อีกตัวอย่าง คือ คุณจิระศักดิ์ คำสีทา เล่าว่า ชีวิตหักเห จากการไปใช้ชีวิต ในโรงงานผลิตปุ๋ย ประเทศมาเลเซีย เมื่อกลับมาบ้านและได้สติว่า เมืองไทย นี่แหละ เป็นสุขที่สุดแล้ว จึงลงมือทำสวนเกษตร แบบผสมผสาน เก็บกิน เก็บขายได้ตลอดทั้งปี
ความเคยชินดั้งเดิมของ เกษตรกร คือ การเคยชินกับการ “ซื้อ” ทุกอย่าง ซื้อผัก ซื้อปลา มาบัดนี้ พวกเขารับสัญญาณ ในการปรับแนวคิด ปลูกไว้กินเอง “ไม่ซื้อ” จึงมีเงินเก็บ กินดีกับสุขภาพ นี่ไงล่ะ “ความยั่งยืน” ที่เอกชน พยายามแบ่งปัน ซึ่งมองทะลุลงไปแล้ว พบว่า มากมิติกว่า การทำ CSR คือ การลงไปฝังตัว แนะนำ แนะแนวทาง ให้พวกเขามีช่องทางการทำกินเพิ่มขึ้น บนเส้นทางแห่งความขยัน จนสามารถยืนด้วยขาของตัวเองได้ตลอดไป กลายเป็นความยั่งยืน ตามเป้าหมายที่คนไทยจูงมือกันเดิน ร่วมพัฒนาประเทศชาติไปด้วยกัน
ศูนย์เรียนรู้ โรงคัดผัก ในชุมชนเกษตรกรกลุ่มผักปลอดสารพิษ กม.52 สถานที่ ให้ความรู้และพบปะระหว่างกัน
มะละกอ ปลอดสาร ผลดก ทำส้มตำ ได้กรอบ อร่อยๆ
ผักปลอดสาร กินเองก็สบายใจ ขายก็จริงใจกับการเสริฟคุณภาพดีๆ
ศูนย์เรียนรู้ ที่ถ่ายทอดจากรุ่น สู่รู่น
เอกชน ประสงค์จะแบ่งปัน
กับดักแมลง ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ไม่ต้องใช้สารเคมี ในการลดจำนวนแมลง