มรดกอีสาน @ขอนแก่น   


10 มกราคม 62 05:34:45

คอลัมน์  “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน ล้วนให้อารมณ์ สนุกๆ 


มรดกไทย หมายถึง "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา" 

 
หากเป็นความหมายแคบ กดลงมาถึงระดับภาค เช่น ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคใต้ ก็จะกลายเป็น มรดกของท้องถิ่นนั้นๆ 
 
พูดถึงภาคอีสานของเรา คุณๆนึกถึงอะไร ล่ะ…เสียงแคน เสียงโปงลาง เสียงโหวด  แว่วมา..ใช่ไหม
 
สังเกตุ พบว่า เครื่องดนตรีของอีสาน มักผลิตเส้นเสียง ที่มีสองอารมณ์ หนึ่ง คือ อารมณ์เศร้าสร้อย แผ่นดินอีสานแห้งแล้งในอดีต อาจทำให้พวกเขาจัดอารมณ์ ผ่านตัวโน้ต ที่ฟังแล้วสะท้อนอารมณ์ อ้างว้างเดียวดายกับแผ่นดินเหว้งเว้ง แตกแยกระแหง 
 
 ส่วนอีกอารมณ์ คือ ความคึกคัก ฟ้อนรำ ขยับแข้งขา ม่วนหลาย เขาว่า คนอีสาน มักม่วน ฉลองได้ทุกโอกาส ถูกหวย รวยเบอร์ ได้ลูกคนใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ สีข้าวใหม่ นาแปลงใหม่ และอื่นๆ ปิดหมู่บ้าน ล้มควายกินกันทั้งหมู่บ้าน
 
บรรพบุรุษของชาวอีสาน มีหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรม ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของนครขอนแก่น คือ   “แคน” กลายเป็นเมืองหมอแคน เสน่ห์ตัวร้าย ที่แว่วมาพร้อมเสียงดนตรี ผ่านลมหายใจเข้า-ออก ต่อเนื่อง เนิ่นนาน จนจบเพลง
 
“หมอแคน” คู่กับ “หมอรำ”  ความสนุกบังเกิดขึ้น กับชาวอีสานทุกคน ที่เสียงแคนดังขึ้น…จริงไหม…
 
แต่…ในยุคนี้ การสืบทอดดนตรีมรดกอีสาน บางตาลงไปมาก โชคดีที่ยังมีคนหนุ่ม-สาว รุ่นนี้มองเห็น ความสำคัญของ “มรดกอีสาน” พวกเขาจึงรับช่วงต่อ จากรุ่นพ่อ-แม่
 
ร้าน “ขอนแก่นมรดกอีสาน”  เปิดเมื่อปี 2525 ตั้งอยู่ที่หัวมุมสี่แยกโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก อำเภอเมืองขอนแก่น เจ้าของร้าน คนปัจจุบัน เป็นรุ่นลูกสาว คุณเพ็ญ-นภษร  สิรินทรภูมิ วัย 36 ปี เธอเล่าว่า ตามบิดา ซึ่งเป็นชาวบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม มาเร่ขายแคน ที่นครขอนแก่น ตั้งแต่วัยเด็ก และเมื่อเมืองนี้กลายเป็นเมืองหมอแคน ตามคำขวัญของจังหวัด จึงมั่นใจ ปักหลัก เปิดร้านขายแคน นับแต่นั้นมา
 
“เต้า” เป็นลักษณะนามทีใช้เรียก เครื่องดนตรีประเภทแคน เช่น แคน 6 เต้า หมายถึง แคน 6 อัน 
 
เล่าว่า ชุมชนในนครขอนแก่น เคยมีชุมชน ผลิตแคนกันเป็นล่ำ เป็นสัน กาลต่อมา พบว่า แหล่งผลิตแคน ไปอยู่ที่จังหวัดนครพนม แต่แหล่งค้าขาย และขายดี อยู่ที่นครขอนแก่น
 
ในยุคของคนรุ่นสอง มีการปรับให้เข้ายุคสมัย ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของจังหวัด แบบแนวทาง ”จิตอาสา”  อาจารย์กิตตินิพนธ์  สิรินทรภูมิ อาจารย์โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน นิยมอุทิศตัวเอง เพื่องานศิลปะ และดนตรีอีสาน อยู่เป็นประจำ ทำให้มีส่วนที่ใครๆ ก็รู้จักร้านนี้ไปด้วย
 
นอกจากนี้ ยังมีขายเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท ขอโฆษณาให้ ฟรีๆ เพราะแค่แวะไปชม เจ้าของร้านก็ดีใจออกนอกหน้าแล้วล่ะ  ดีใจว่างานของพวกเขา ยังมีคนเห็นคุณค่า และสืบสานให้มันเป็น “มรดก” ไปยังรุ่นลูก หลาน เหลน โหลน และ รุ่นต่อๆไป…..
 
มีคำถาม ตามมาว่า หากไม่ใช่คนเป่าแคน ฟังได้อย่างเดียว จะช่วยสืบสานด้วยคนได้ไหม…คำตอบ…อ้อ….ได้ ขอให้ทำตัวเป็น กองเชียร์  แคนเป็นเต้า เป่าไม่ถนัด ก็นำมาทำเป็นของชำร่วย ของฝาก ด้วยวลีเด็ดๆ อย่าง “ มีแคนไว้ ไม่ขาดแคลน”  “ แคนเงิน แคนทอง” ได้ทุกวิถีทาง
 
“เมืองหมอแคน”  มาช่วยกัน สนับสนุน “แคน” ด้วยกันเถอะ…..
 
ความหลากหลายของ ?แคน? ขนาดต่างๆความหลากหลายของ “แคน” ขนาดต่างๆ
 







หวยเด็ดงวดนี้
  • ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
    16 พ.ย. 2567
  • รางวัลที่ 1 187221
  • รางวัลเลขหน้า 3 ตัว 036 923
  • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว 980 547
  • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว 38
เรื่องอื่นๆในหมวด

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS