ศูนย์เลือดฯ@ขอนแก่น   


25 เมษายน 62 11:11:03

คอลัมน์  “รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว…………. พบเรื่องใหม่ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

 ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ ถนนมลิวัลย์ ห่างจากตัวเมืองนครขอนแก่นราว 14 กิโลเมตร เพิ่งเปิดทำการ เมื่อปลายปี 2561 แวะไปเยี่ยมชมกันได้
 ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ ห่างจากตัวเมืองนครขอนแก่นราว 14 กิโลเมตร เพิ่งเปิดทำการ เมื่อปลายปี 2561 แวะไปเยี่ยมชมกันได้

         เป็นที่รู้กันว่า ร่างกาย อวัยวะ เลือด ซื้อขายกันไม่ได้ หากมนุษย์จะช่วยเหลือกัน ต้องเป็นการบริจาค เท่านั้น กฏหมายระหว่างประเทศทั่วโลก มีข้อตกลงกันไว้เยี่ยงนี้ ไอ้ที่พอจะเป็นข่าวอยู่บ้างนั้น ล้วนลักลอบทั้งสิ้น

         การบริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ จึงเป็นเรื่องของการเสียสละที่น่ายกย่อง เชิดชู ประหนึ่งมอบชีวิตให้กันและกัน ดังนั้นหน่วยงานที่จะทำหน้าที่นี้ได้ จะต้องเป็นหน่วยงานกลาง ใจนิ่ง มีจิตอาสามาช่วยงานเป็นที่ตั้ง ไม่งั้นอาจมีเรื่องราวต่างๆตามมาอีกมากมาย

         เป็นความพอดีของชาวโลก ที่หน่วยงานกลางแห่งนี้ ขยายเครือข่ายไปทั่วโลก จึงเป็นการเชื่อมร้อยการทำงานเป็นโครงข่ายใยแมงมุม คือ “สภากาชาดสากล”

         วันที่ 26 เมษายน  2562 สภากาชาดไทยครบรอบ 126 ปี ของการก่อตั้ง นับเป็นคุณูปการต่อสังคมไทยยิ่งนัก

         ขอเล่างานหลัก งานสำคัญของสภากาชาดไทย ที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ คือ การเป็นศูนย์กลางในการจัดหา บริหาร “เลือด” หรืออาจเรียกว่า เป็น “ธนาคารเลือด” มีระบบการฝาก คืองานการบริจาคเลือดของประชาชนทุกคน และระบบการถอน คือ การเบิกจ่ายเลือด ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ให้คนไข้ที่มีความจำเป็นในการใช้เลือด เช่น การผ่าตัด การถ่ายเลือดและอื่นๆ

         ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เริ่มมีนโยบายในการจัดตั้งสาขา ตามหัวเมือง เพื่อกระจายความช่วยเหลือ ให้พี่น้องประชาชน อย่างทั่วถึง ในปี 2539

         ปัจจุบัน มีภาคบริการโลหิต กระจายอยู่ 12 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ราชบุรี ชลบุรี สงขลา ลพบุรี อุบลราชธานี นครสวรรค์ ภูเก็ต และ ขอนแก่น

         ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งเมื่อปี 2541   และมีการโยกย้ายมาตามลำดับเวลา ปัจจุบันมีการก่อสร้างเป็นอาคารถาวร สง่างาม ตั้งอยู่ ริมถนนมิตรภาพ ห่างจากตัวเมือง ราว 14 กิโลเมตร

         อรรถพจน์ของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น คือ “บริการประทับใจ โลหิตและบริการมีคุณภาพ”  งานภารกิจตามขั้นตอน ที่วางไว้คือ

         1 การตรวจคัดกรองโลหิต-คนที่จะบริจาค ต้องผ่านการคัดกรองว่าจะสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่ สุขภาพของผู้บริจาคจะส่งผลกับเลือดของตัวเอง หากไม่ผ่าน คือ ไม่รับและขอบคุณในน้ำใจ

         2 การรับบริจาคโลหิต-มีหน่วยบริการ เคลื่อนที่เร็วไปรับเลือดถึงที่ ขอเพียงแจ้งมา (การออกหน่วยรับบริจาค จะทำได้เพียง 3 หน่วยงาน คือ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ และ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น : โรงพยาบาลเอกชนทำไม่ได้)

         3 ผลิตส่วนประกอบโลหิต-เป็นขั้นตอนทางการแพทย์ มีบุคคลากร ราว 40 คน เครื่องมือทันสมัย ผ่านเกณฑ์เรื่องการรับรองคุณภาพ

         4 จ่ายโลหิต-หน่วยงานนี้จะให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง พบว่า ศูนย์ฯ แห่งนี้ มีการเบิกจ่ายโลหิต มาจากโรงพยาบาล 72 แห่ง จาก 11 จังหวัดของภาคอีสาน (เบิกจ่าย คือ เบิกมา และจ่ายไป ไม่ใช่การจำหน่าย)

         การทำงานของศูนย์ฯ ในยุคปัจจุบัน พลิกหน้ามือ-หลังมือ จากเดิมที่เรามักจะคุ้นเคยกับ กลิ่นแอลกอฮอล์ บรรยายกาศทึมๆ พยาบาลดุๆ ผู้คนดูเศร้าสร้อย….

         มาบัดนี้….โลกเปลี่ยนไป…. สัมผัสบรรยากาศในศูนย์ฯ ได้ว่า เจ้าหน้าที่หน้าตาแจ่มใส บรรยากาศสดชื่น เครื่องมือ ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย การอธิบายขั้นตอนต่างๆ ชัดเจน สบายใจเมื่อได้บริจาค และรู้ว่า เลือดของตัวเอง นำไปช่วยได้อีกหลายชีวิต…..

         คำโบราณ…”เลือดข้นกว่าน้ำ” ยังแจ่มชัด แต่เมื่อ “เลือด” บวก “น้ำใจ” ในยุคดิจิทัล จึงเป็นพลังให้มนุษย์หันมาดูแลกัน เพราะเลือดสร้างใหม่ได้ทุกวัน และบริจาคได้ทุกๆ สามเดือน เลือดในกาย มีพลังสูง เป็นการแบ่งปันสูงสุด เพราะ ให้เลือดเท่ากับให้ชีวิต……..

         คุณล่ะ….เคยคิดจะบริจาคเลือดไหม….หรือบริจาคเป็นครั้งที่เท่าไหร่กันแล้วล่ะ…..ทำดี ทำได้ ทำต่อไป….

กรุ๊ปเลือดของมนุษย์ ที่สามารถแบ่งปันกันได้  โดยมีการตรวจเช็ค 4 โรคต้องห้าม คือ ไวรัส B,ไวรัส C, ซิฟิลิสต์ และ HIVกรุ๊ปเลือดของมนุษย์ ที่สามารถแบ่งปันกันได้  โดยมีการตรวจเช็ค 4 โรคต้องห้าม คือ ไวรัส B,ไวรัส C, ซิฟิลิสต์ และ HIV

 

 เลือดหลังผ่านขบวนการ  เลือดหลังผ่านขบวนการ “ผลิตส่วนประกอบโลหิต” ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ พลาสม่า-เกร็ดเลือด-เม็ดเลือดแดงเข้มข้น

 

โลหิตที่ได้รับการบริจาค แบ่งเป็น 2 ส่วน  คือ โลหิต และ พลาสม่า พร้อมให้เบิกจ่าย (รูป ที่มีเลือด 1 ถุง พลาสม่า 1 ถุง)โลหิตที่ได้รับการบริจาค แบ่งเป็น 2 ส่วน  คือ โลหิต และ พลาสม่า พร้อมให้เบิกจ่าย 

 

ขบวนการผลิตส่วนประกอบโลหิต ต้องแล้วเสร็จภายใน 8 ชั่วโมงขบวนการผลิตส่วนประกอบโลหิต ต้องแล้วเสร็จภายใน 8 ชั่วโมง

 

แนะนำให้ทาน ธาตุเหล็ก หลังบริจาคโลหิต เพื่อช่วยทดแทน ส่วนที่สูญเสียไปของร่างกาย จากนั้น จะมีการผลิตขึ้นได้ใหม่ โดยกลไก ของร่างกายที่สุดแสนมหัศจรรย์?แนะนำให้ทาน ธาตุเหล็ก หลังบริจาคโลหิต เพื่อช่วยทดแทน ส่วนที่สูญเสียไปของร่างกาย จากนั้น จะมีการผลิตขึ้นได้ใหม่ โดยกลไก ของร่างกายที่สุดแสนมหัศจรรย์…

 

 








หวยเด็ดงวดนี้
  • ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
    16 พ.ย. 2567
  • รางวัลที่ 1 187221
  • รางวัลเลขหน้า 3 ตัว 036 923
  • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว 980 547
  • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว 38
เรื่องอื่นๆในหมวด

เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS