อุโมงค์ลอดแห่งที่ 2 ขอนแก่น งบ411.6ล้าน เสร็จปี60   


16 มีนาคม 59 06:09:59

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย ขก. 1027 บ้านหนองไผ่ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

กรมทางหลวงชนบทได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นผู้ดำเนินการ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนน สาย ขก.1027 บ้านหนองไผ่ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตามนโยบาลของรัฐบาล ที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟได้อย่างยั่งยืน โดยได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ลักษณะอุโมงค์และรายละเอียดโครงการเป็นอย่างไรไปดูกัน

ความเป็นมาของโครงการ
กรมทางหลวงชนบทมีถนนในความรับผิดชอบอยู่ทั่วประเทศ โดยมีจุดตัดผ่านทางรถไฟกว่า 153 แห่ง และด้วยเหตุที่ปริมาณการจราจรปัจจุบันสูงขึ้น ทำให้จุดตัดผ่านทางรถไฟบางแห่งมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง กรมทางหลวงชนบทจึงมีแผนปรับปรุงจุดตัดผ่านทางรถไฟให้สอดคล้องกับมาตรการความ ปลอดภัยของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่พิจารณาจากปริมาณรถยนต์และขบวนรถไฟบริเวณจุดตัดผ่านทางรถไฟนั้นๆ
  
กรมทางหลวงชนบทจึงเสนอของบประมาณมาดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดทางรถไฟบน ถนนโครงข่าย ขก. 1027 ช่วงแยกถนนมิตรภาพ ( ทางหลวงหมายเลข 2 ) บ.โคกท่า ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นหนึ่งในแผนปรับปรุงที่จะก่อสร้างจุดตัดผ่านทางรถไฟเป็นทางต่างระดับใน รูปแบบของอุโมงค์ลอดทางรถไฟ
  
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เป็นโครงการที่มุ่งเน้นลดปัญหาอุบัติเหตุ และความสูญเสียที่เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดถนนทางหลวงชนบทกับทางรถไฟ ลดปัญหาการติดขัดของการจราจรโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และสามารถรองรับการขยายตัวของเมืองและโครงการรถไฟทางคู่ของการรถไฟแห่ง ประเทศไทยในอนาคตได้

ลักษณะงานอุโมงค์
ลักษณะงานอุโมงค์ : เป็นอุโมงค์ขนาด 2 ช่องจราจรมีแผงกั้นคอนกรีตแบ่งช่องจราจร ความยาว 810 ม. ความกว้างอุโมงค์ 11.0 ม. ผิวจราจรรวมไหล่ทางกว้างช่องละ 4.30 ม. ทางเท้ากว้างข้างละ 0.90 ม. ความสูงอุโมงค์ 5.50 ม.

ลักษณะงานถนนเชื่อมอุโมงค์ : ถนนเชื่อมต่ออุโมงค์กับถนนเดิมเป็นถนน 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 7.00 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 ม. และมีช่องจราจรสำหรับกลับรถบริเวณหลังคาอุโมงค์ทั้ง 2 ฝั่ง รวมความยาวถนนทั้งส่วนนอกอุโมงค์และในอุโมงค์ 2,125 เมตร

งานประกอบอื่นๆ
งานก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามทางรถไฟ 1 แห่ง
งานติดตั้งเครื่องสูบน้ำในอุโมงค์ 4 เครื่อง พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติ และระบบไฟฟ้าสำรอง
งานระบบดับเพลิงในอุโมงค์
งานไฟฟ้าแสงสว่างตลอดช่วงอุโมงค์


ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1. ลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟได้อย่างถาวรและยั่งยืน แม้ในอนาคตจะมีรถไฟมากขึ้น สามารถรองรับโครงการรถไฟทางคู่ขนานในอนาคต
2. ลดปัญหาจราจรติดขัด โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนอันเนื่องมาจากการปิดกั้นถนนเพื่อให้รถไฟผ่าน ลดระยะเวลาการเดินทาง และเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง
3. เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้เดินข้ามทางรถไฟ ด้วยสะพานลอยคนเดินข้ามทางรถไฟ

  

แผนการดำเนินการโครงการ
ใช้งบประมาณ ปี 2558 เป็นจำนวน 80,200,000 บาท
ใช้งบประมาณ ปี 2559 เป็นจำนวน 165,720,500 บาท
ใช้งบประมาณ ปี 2560 เป็นจำนวน 165,720,500 บาท

รวมงบประมาณ 411,641,000 บาท
ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน เริ่มงานก่อสร้าง
1 มิถุนายน 2558 – 20 พฤษภาคม 2560

ที่มา http://www.kk-railway-underpass.com/







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS