TCDC เชิญร่วมงาน 'ก่อร่างสร้างเมืองสร้างสรรค์' รองรับการเปิดสาขาขอนแก่นปี '61   


30 ธันวาคม 59 16:40:24

TCDC เชิญร่วมงาน 'ก่อร่างสร้างเมืองสร้างสรรค์' รองรับการเปิดสาขาขอนแก่นปี '61


แบบจำลองอาคาร TCDC ขอนแก่น ซึ่งด้านหน้าเป็นไฟ LED เปลี่ยนข้อความได้

    จากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาสู่การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม  โดยศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC)  ได้ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการและผลักดันแนวคิดการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ให้ขยายไปสู่ภูมิภาค ด้วยการขยายการให้บริการเพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เข้าถึงความรู้ และทรัพยากรในการพัฒนาธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการให้บริการของ TCDC  ขอนแก่น จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบหรือ Thailand Creative & Design Center (TCDC) โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นประธานในพิธี เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2559  ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นั้น ทำให้ปัจจุบันได้มีการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการสร้างสำนักงานของ TCDC ขึ้น ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560 และให้บริการในปี พ.ศ. 2561 

    ซึ่งการสร้างสำนักงานดังกล่าวเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการขยายโอกาสทางการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์สู่ภูมิภาค ส่งเสริมให้เกิดแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ที่เป็นแหล่งพบปะของเยาวชน เป็นแหล่งเชื่อมโยงทางธุรกิจ และเป็นแหล่งแสดงผลงานและเวทีสร้างสรรค์ สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อสร้างเมืองที่เกิดขึ้นจากรากฐาน วัฒนธรรม ประเพณีที่เก่าแก่และงดงาม พรั่งพร้อมด้วยแรงงานที่มีทักษะฝีมือ ที่สร้างสินค้าที่หลากหลาย หากสามารถต่อยอดด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ เช่น การออกแบบ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสร้าง Branding ย่อมทำให้สินค้าและบริการของภาคอีสาน เดินหน้าสู่การแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง 
   

     เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาเมืองขอนแก่นไปสู่เมืองสร้างสรรค์ จากวิสัยทัศน์และแนวคิดของผู้วางนโยบายของประเทศ นักสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ และกลุ่มธุรกิจที่จะมาชี้โอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  "TCDC" จึงเชิญชาวขอนแก่นมาร่วมรับฟังการสัมมนา "ก่อร่างเมืองสร้างสรรค์" ในวันที่ 11 มกราคม 2560 เวลา 14.00 – 16.00 น.  ณ โรงภาพยนตร์ SF ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ขอนแก่น

โดยวิทยากรประกอบด้วย
•    ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
•    นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ
•    นายดวงฤทธิ์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด
•    นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล รองประธานบริหารหอการค้าจังหวัดขอนแก่น

ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี(รับจำนวนจำกัด) ได้ที่ https://www.eventpop.me/e/1304

กำหนดการ 
13.30 – 14.00 น.    ลงทะเบียน 
14.05 - 14.10 น.    นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กล่าวรายงาน และวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
14.10 – 14.15 น.    ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวเปิดงานสัมมนา
14.15 – 14.30 น.    ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวปาฐกถา “ เมืองสร้างสรรค์...เครื่องจักรใหม่ เศรษฐกิจโลก”    
14.35 – 16.00 น.    สัมมนา “ก่อร่างสร้างเมืองสร้างสรรค์” 
โดย นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ สำนักงานส่งเสริมการ จัดการประชุมและนิทรรศการ 
นายดวงฤทธิ์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด 
และนายชาญณรงค์ บุริสตระกูล รองประธานบริหารหอการค้าจังหวัดขอนแก่น
16.00 – 16.05 น.    ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี มอบของที่ระลึก 
16.05 – 16.30 น.    เชิญร่วมชมนิทรรศการ Creative City ณ ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ขอนแก่น
17.00 น.        จบงาน
   

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ส่วนบริการ TCDC วันจันทร์ – วันศุกร์ (9.30 – 17.30 น.) โทร 02 105 7400

ทิศเหนือ


ทิศตะวันออก


Lobby


RECEPTION


MEDIA

 

ประวัติวิทยากร 
 
ณรงค์ชัย.jpg 
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี 
นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
•    อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกระทรวงพาณิชย์ 
•    อดีตสมาชิกวุฒิสภา 
•    อดีตประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
•    ประธานอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อยกร่างยุทธศาสตร์ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 
 
 
วีระศักดิ์.jpg 
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ประธานกรรมการ 
สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
•    อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
•    ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมประเทศไทยในฐานะเมืองแห่งการจัดประชุมและนิทรรศการระดับโลก
 
 
ดวงฤทธิ์.jpg 
นายดวงฤทธิ์ บุนนาค 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด
•    สถาปนิกมากความสามารถ และโดดเด่นในแวดวงสถาปัตยกรรม มีผลงานทั้งในระดับประเทศและสากล
•    ปัจจุบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง (Creative District)
 
ชาญณรงค์.jpg 
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล 
รองประธานบริหารหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสานพิมานกรุ๊ป จำกัด
•    หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด หน่วยงานเอกชนแรกของประเทศที่ลงทุนในโครงการขนส่งมวลชนรางเบา
•    หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Jump Space ซึ่งเป็น Co-working space แห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น
 
 

Project Name:        TCDC Khon Kaen ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สาขาขอนแก่น
Owner:            TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Location:        Kalapapruek road, Muang, Khon Kaen ถนนกัลปพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Completion:        2017
Architect:        Architects 49 Limited  
Interior Designer:        Interior Architects 49 Limited 
Landscape Designer:    Landscape Architects of Bangkok Limited
Structural Engineer:    Architectural Engineering 49 Limited
System Engineer:    M&E Engineering 49 Limited
Building Area:        1,500 ตารางเมตร
Construction Cost:    62 ล้านบาท


แนวคิดในการออกแบบ
“อีสาน กันดาร สร้างสรรค์”

ลักษณะพิเศษของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน คือ ภูมิภาคที่มีความแห้งแล้งเป็นส่วนมาก ปริมาณฝน และแหล่งน้ำน้อย อีกทั้งพื้นดินทรายก็ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มาก จากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกคนต้องสู้ชีวิต กับสภาพแวดล้อมที่แร้นแค้น วิถีชีวิตในภูมิภาคอีสานจึงพัฒนาองค์ความรู้ และวัฒนธรรมต่างๆ จาก “ความจำกัด” ของทรัพยากรที่มีอยู่ ก่อเกิดเป็นความสร้างสรรค์จากความจำกัด เป็นตัวตนความพิเศษของอีสานที่น่าเชิดชู ดังนั้นแนวความคิดในการออกแบบจึงเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นแบบฉบับของอีสาน

ความกันดารของอีสานเป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้ให้คนอีสานเห็นความสำคัญกับต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งเมื่อมีการเปิดพื้นที่เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสร้างกิจกรรมสอดแทรกไปกับต้นไม้ที่มีอยู่เดิม ก่อเกิดเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่สำคัญของคนอีสาน ที่จะสามารถสร้างสรรค์ชุมชนร่วมกับต้นไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี

การพบปะแลกเปลี่ยน ก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ ที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในแบบฉบับของอีสาน ที่เกิดจากลักษณะของการสัญจรอันเป็นเอกลักษณ์ของคนอีสาน คือ การเดินผ่านใต้ถุนบ้านจากหลังหนึ่งสู่อีกหลังหนึ่งโดยไม่มีรั้วบ้านกั้นขวาง เพื่อหลบความร้อนจากแสงแดด ดังนั้นเมื่อลักษณะเด่นของการยกใต้ถุนบ้านร่วมกับพื้นที่ใต้ต้นไม้เดิมที่เกิดขึ้น จึงเป็นตัวแทนถึงจุดเด่นของพื้นที่คนอีสานที่ใช้พบปะกันในชีวิตประจำวัน

การออกแบบกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ คำนึงให้เกิดปฏิสัมพันธ์สูงสุด โดยเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยต้นไม้ และการมองเห็น โดยเฉพาะการเกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายที่เดินผ่านไปมารอบโครงการ จากความสำคัญที่เกิดขึ้นนั้น จึงทำให้เกิดแนวคิดสะท้อนข้อความพูดคุยผ่าน Façade ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของโครงการ ที่จะทำหน้าที่สื่อสารข้อความจากภายในโครงการสะท้อนสู่ผู้คนที่ผ่านไปมา โดยจะเป็นวัสดุที่สะท้อนภาพกิจกรรมภายในโครงการออกสู่มุมมองของผู้คนด้านนอก และเมื่อโครงการ TCDC จะประชาสัมพันธ์นิทรรศการพิเศษที่เกิดขึ้น ก็สามารถส่งสารสู่บุคคลภายนอกผ่าน Façade ได้เช่นกัน โดยแผ่นวัสดุสะท้อนสามารถที่ปรับเปลี่ยน และทำหน้าที่แปรอักษรได้

 

Isan - Deprivation - Creative

With unique characteristics of low precipitation, poor water resources, and soil that is unable to retain sufficient water, Isan people are forced to live with these kinds of limitation. The creativity in Isan, therefore, emerges under these constraints to build its knowledge and culture. The design intension is to create a place where creativity flourishes along Isan ways of living.

Scarcity plays an important part in the essential role of limited trees in Isan’s community. Therefore, site planning is focused in design to let users to have a friendly access and allow activities around every single existing tree on the site.

As creativity occurs while interacting and knowledge exchanging are enhanced, Isan people often utilize the ground space under the house as public circulation areas in order to provide shading from the sun. Therefore, this ground space as well as the spaces under the trees represent meeting areas where ideas are exchanged reflecting the Isan people daily life. 

Furthermore, the programs are designed to maximize interactions between users and the existing trees which also enhances the interactions between users and other people who passes by. 

With the importance of this interaction and communication, the façade behaves as a communicator. In normal operation, it enhances the activities inside by reflecting the images of the people inside to be visible from the outside. Whenever TCDC would like to communicate with the public, the façade will be adapted to operate as an enormous message board. 


 







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS