ขอนแก่น แห่งแรกมหาวิทยาลัยไทย "เลี้ยงไก่ไข่ไม่ใช้คน" (มีคลิป)
ม.ขอนแก่น จับมือ ซีพีเอฟ ผลิตโรงเลี้ยงไก่อัจฉริยะไม่ต้องใช้คนก็เลี้ยงไก่ไข่จนได้ไข่ไก่ แห่งแรกในสถาบันอุดมศึกษาของไทย เล็งขยายผลต่อยอดสู่ภาคเกษตรกรรมยุค 4.0
ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และรักษาการรองอธิการบดีร มข. กล่าวว่า นโยบายมหาวิทยาลัยต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาชุมชน การที่ทางซีพีเอฟได้เป็นพี่เลี้ยงและส่งมอบ มาร่วมพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย ต่อยอดโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ที่ไม่เพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ ยังต้องการต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบของ social enterprise บุคลากรและนักศึกษาในคณะเกษตรศาสตร์ สามารถบริหารจัดการการตลาดผลผลิตไข่ไก่ได้เองทั้งหมด ในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถเป็นต้นแบบของการเกษตรทันสมัย ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา ต่อยอดงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของบุคลากรด้านการเกษตร สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ต่อมุ่งเป้าสู่การเป็นอุทยานเกษตรอัจฉริยะ
ขณะที่ นายเรวัติ หทัยสัตยพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ กล่าวว่า โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่อัจฉริยะ หรือ Smart Farm เป็นการยกระดับโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เดิม โดยผสานเทคโนโลยี IOT, Big Data, Image Processing เข้ามาประยุกต์ใช้ ในด้านการเลี้ยงและด้านการบริหารจัดการโรงเรือน สามารถ monitor ผลการเลี้ยงได้ real time แจ้งสถานะระบบสิ่งแวดล้อมของโรงเรือนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม แสงสว่าง ระบบอาหาร น้ำและไฟฟ้า สามารถแสดงต้นทุนกำไรของไข่เบื้องต้นได้ทันที โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตไข่ เราติดอาวุธให้ฟาร์มไก่ไข่ของมหาวิทยาลัยให้สู่ยุคดิจิตัลที่แท้จริง ยกให้เป็นโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ที่ทันสมัยอันดับต้น ๆ ของระดับสถาบันการศึกษาประเทศไทย ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับเรียนรู้ และฝึกฝนการใช้เทคโนโลยี 4.0 ให้กับบุคลากรทั้งภายในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกที่สนใจ
"นับเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างซีพีเอฟ กับ มข.ให้ก้าวไปสู่เทคโนโลยี IOT อันเป็นรากฐานสำคัญให้การเตรียมกำลังคน และความพร้อมของบุคลากรด้านการเกษตร ที่จะเป็นฟันเฟืองหลักในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุค 4.0 อย่างยั่งยืนต่อไป"