อสังหาโคราช-ขอนแก่นโต "อุดรฯ-อุบลฯ-สารคาม" เหลือขาย   


9 พฤศจิกายน 62 09:30:13

การพัฒนาทางด้านโลจิสติกส์ทั้งถนน และระบบรางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้เกิดการตื่นตัวทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แม้ช่วงปีที่ผ่านมาจะเจอมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ตาม

    “ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์” ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอสังหาริมทรัพย์ภาพรวมทั้งประเทศในขณะนี้ ทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับ LTV ช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ตลาดยังคงซบเซาต่อเนื่อง มาตรการลดค่าโอนและค่าจดจำนองที่ออกมาถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ซื้อได้ดี ฉะนั้น 2 เดือนที่เหลืออยู่น่าจะดีขึ้นและจะเห็นผลชัดเจนในปี 2563 เพราะบางส่วนที่ค้างจ่ายหรือรอโอนจะตัดสินใจโอนได้มากขึ้น และจากภาพรวมสต๊อกในทุกระดับราคาของปีนี้อยู่ที่ประมาณ 2 แสนหน่วยทั่วประเทศ จะได้รับผลบวกจากมาตรการนี้ประมาณ 1.4 แสนหน่วย ซึ่งจะช่วยให้ยอดโอนปรับตัวดีขึ้นและขับเคลื่อนตลาดไปได้


    ภาพรวมปี 2562 ที่ติดลบประมาณ 5% มีแนวโน้มจะกลับไปเป็นบวกได้ และภาพรวมน่าจะกระเตื้องขึ้น อสังหาฯราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทน่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดและได้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่ที่น่ากังวลคือสต๊อกที่ค้างอยู่ในส่วนของกรุงเทพฯและปริมณฑลยังมีค่อนข้างมากต้องเร่งระบายออกไป ขณะที่จังหวัดในภูมิภาคอัตราการเติบโตจะอยู่ในจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัย สถานศึกษา โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งมีคนนอกพื้นที่เข้าไปซื้ออยู่อาศัย

   “สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัดหลัก ตอนนี้นครราชสีมาเติบโตดีที่สุด ถัดมาคือขอนแก่น เรียกได้ว่าเป็น 2 จังหวัดใหญ่นี้มีสต๊อกและยอดขายมากที่สุด มีการลงทุนจากทุนท้องถิ่นมากพอสมควร อัตราการดูดซับมีการปรับตัวที่ดีขึ้น ส่วนจังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคามยังอยู่ในภาวะนิ่ง โดยเฉพาะอุดรธานีโครงการคอนโดฯในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาไม่มีซัพพลายใหม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นของเดิม 5-6 ปีที่ผ่านมา เรียกว่าเหลือขายตลอดกาล เพราะคนท้องถิ่นไม่นิยมซื้อ ส่วนที่ตัดสินใจซื้อแต่กู้ไม่ผ่านมีอยู่มาก และเฉลี่ยคอนโดฯ ที่ค้างในอีสาน 5 จังหวัดมี 2,779 หน่วย คิดเป็น 21% ของที่อยู่อาศัยที่ยังคงเหลือทั้งหมด 13,372 หน่วย อีก 79% เป็นโลว์ไรส์”

อ่านรายละเอียดได้ที่ ประชาชาติธุรกิจ







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS